วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนวคิดเพร้าท์ (PROUT)

อะไรคือแนวคิดเพร้าท์ (PROUT)
เป็นคำย่อมาจาก Progressive Utilization Theory เป็นแนวคิดที่เผยแพร่โดย Prabat Ranjan Sargar (P.R.Sargar) นักปราชญ์ชาวอินเดีย ซึ่งมีการเผยแพร่ ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1959 โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อ 2 ข้อ คือ
1. ทุกสรรพสิ่งในโลก ล้วนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มาจากจุดกำเนิดเดียวกัน และมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ไม่สามารถแยกจากกันได้ ดังคำกล่าวที่ว่า เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว (Butterfly effect) หรือที่เกี่ยวข้องและโยงกับทฤษฎีไร้ระเบียบ (chaos theory)
2. ทรัพยากรในโลกนี้แม้มีจำกัด แต่ก็เพียงพอสำหรับทุกชีวิตในโลก เพียงแต่ต้องรู้จักการใช้ การแบ่งปันและรู้จักการนำทรัพยากรเหล่านี้มาใช้อย่างเหมาะสม ดังสำนวนในภาษาอังกฤษที่ว่า No need for orchestra if the guitar can do
PROUT เป็นแนวคิดใหม่ของการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งพัฒนามาจากพื้นฐานจิตวิทยาแนวนีโอฮิวแมนนิส (Neo-Humanist Psychology) มีความเชื่อใน ความเป็นหนึ่งเดียวของคนในสังคมและ ความเท่าเทียมกันของคนในสังคมซึ่งดูจะคล้ายคลึงกับ แนวคิดทุนนิยม และ แนวคิดสังคมนิยม (คอมมิวนิสต์) หากมีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยนำข้อดีและข้อด้อยของทั้งสองทฤษฎีมาผสมผสานกัน เน้นการนำแนวคิดไปใช้อย่างเหมาะสมกับบริบทของสังคมของตน เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่สมาชิกในครอบครัวโลก การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทุกชีวิตมีความสุข อยู่ดี กินดี และมีสันติภาพ ในขณะเดียวกันก็ยอมรับและธำรงรักษาซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความแตกต่างหลากหลาย
แนวทางในการพัฒนาตามแนวคิด PROUT ประกอบด้วยสอง ส่วน คือการพัฒนาปัจเจกบุคคล และการปรับเปลี่ยนสังคม ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะต้องดำเนินการควบคู่กันไปอย่างจริงจัง
การพัฒนาปัจเจกบุคคล ประกอบด้วย 3 เรื่อง คือ
1. การมีคุณธรรม จริยธรรม
2. การมีคลื่นสมองต่ำ
3. การมีภาพพจน์ของตนเองในด้านบวก
ด้วยเหตุนี้บุคคลที่ได้รับการพัฒนาตามแนวคิด PROUT แล้วจะมีลักษณะ ดังนี้
1. เป็นคนดีมีคุณธรรม
2. เป็นคนที่เห็นคุณค่าของตัวเอง
3. เป็นคนที่สนใจในความเป็นธรรมของคนในสังคม
4. เป็นคนที่มีระเบียบวินัยในตัวเองสูง
5. เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด
6. เป็นคนที่อยู่ห่างไกลจากสิ่งเสพติด
7. เป็นคนที่ทันสมัยแต่ไม่ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี
8. เป็นคนที่เคารพตนเองและเคารพคนอื่น
9. เป็นคนมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ในหลาย ๆ ด้านของชีวิต
(คัดลอกมาจากhttp://gotoknow.org/blog/neo-humanist/192616)
แนวคิดนีโอ-ฮิวแมนนีสนี้ ได้ถูกนำมาใช้ในวงการศึกษา ส่วนตัวคิดว่าน่าจะนำมาใช้ในการบริการสาธารณสุขได้โดยการพัฒนาปัจเจกบุคคลให้มีคุณธรรมจริยธรรม การมึคลื่นสมองต่ำ ที่สอดคล้องกับที่ อ.นพ.วัชรพลได้พูดถึงในการอบรม ESB ว่าผู้ที่มีคลื่นสมองระดับอัลฟ่าลงมา(หรือขึ้นไปตามระดับคุณภาพของคลื่นสมอง) จะสามารถมีพฤติกรรมบริการที่ดี และการมองตัวเองโดยมีภาพพจน์ในด้านบวก ก็จะพัฒนาตนเองให้รักตนเองและรักเพื่อนมนุษย์ด้วย เพราะคนที่มีความสุขแล้วย่อมจะเผื่อแผ่ความสุขให้คนอื่นได้ตอนนี้กำลังฝึกตัวเองแบบนีโอ-ฮิวแมนนีสอยู่ตาม Entry ที่เคยเขียนไปแล้ว มีรายงานวิจัยว่าผู้ที่มีคลื่นสมองต่ำสามารถทำให้ผู้อยู่ใกล้มีคลื่นสมองต่ำตามไปด้วยได้ อยากเห็นชุมชนคนสารภีมีการพัฒนาตามแนวคิดนี้บ้าง เพื่อตนเองและผู้ที่มาใช้บริการของเราจะได้มีความสุข ผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมแนวคิดนี้เชิญมาคุยกันได้นะคะ ไม่แน่ว่าชุมชนคนสารภีอาจเป็นหน่วยงานสาธารณสุขแห่งแรกที่นำแนวคิดนี้มาใช้เหมือนกับวงการศึกษานำมาใช้ ผู้ที่มีลูกเรียนอยู่ ร.ร.มงฟอร์ตลองศึกษาหรือถามลูกดูนะคะ ให้ลูกสอนเต้นเกาชิกิก็ได้
บาบานัม เควาลัม แปลว่า ความรักมีอยู่ทุกแห่งหน หรือ Love is all there is หรือ Love is everywhere เป็นบทมนตราที่เชื่อว่า ทำให้คลื่นสมองลดลงต่ำได้รวดเร็ว
ขอตัวไปเต้นเกาชิกิก่อนนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น