วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ตารางการคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงประจำปี ๒๕๖๑

แจ้งตารางการคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงประจำปี ๒๕๖๑

     เนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหาการประชาสัมพันธ์คัดกรองโรคไม่ทั่วถึงครอบคลุม และกลุ่มประชาชนที่ต้องการไปตรวจคัดกรอง แต่มีปัญหาต้องรีบไปทำงานไม่สามารถรอการซักประวัติ จนถึงตรวจเลือด แจ้งผลได้ ทางศูนย์สุขภาพชุมชนจึงปรับเปลี่ยนวิธีการให้บริการ โดยการพิมพ์รายชื่อผู้ที่อยู่ในเกณฑ์การคัดกรองให้ อสม ดำเนินการซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและรอบเอวไว้เบื้องต้น และแจ้งวันนัดตรวจเลือด เพื่อลดเวลาการรอคอย เมื่อถึงวันนัดตรวจเลือด ประชาชนสามารถเข้ารับการตรวจเลือดได้เลย ทำให้ใช้เวลาไม่มาก สามารถไปทำงานได้โดยไม่ต้องลางาน

     จึงขอเชิญชวนประชาชนตำบลสารภีเข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนดดังนี้

จุดตรวจคัดกรอง

หมู่       สถานที่           วันที่                     เวลา
ศาลาเอนกประสงค์     ๑/พ.ย./๒๕๖๐   ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.
ศาลาเอนกประสงค์(อุ๊ยปวง)     ๖/พ.ย./๒๕๖๐   ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.
ศาลาSML    ๑๓/พ.ย./๒๕๖๐   ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำชุมชน    ๑๕/พ.ย./๒๕๖๐   ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.
ศาลาเอนกประสงค์ (วัดร้างป่าขี้เหล็ก)    ๒๐/พ.ย./๒๕๖๐   ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.
บ้านพ่อหลวงสากล    ๒๒/พ.ย./๒๕๖๐   ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำชุมชน    ๒๗/พ.ย./๒๕๖๐   ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำชุมชน    ๒๙/พ.ย./๒๕๖๐   ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำชุมชน      ๔/ธ.ค./๒๕๖๐   ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.
๑๐ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำชุมชน      ๖/ธ.ค./๒๕๖๐ ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.

วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

คลินิกหมอครอบครัว ทิศทางใหม่ของPCU

ระบบการแพทย์ปฐมภูมิ (Primary Care Cluster: PCC) หมายถึง การรวมกลุ่มของหน่วยบริการปฐมภูมิ ให้เป็นเครือข่ายการดูแลประชาชน ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบร่วมกันเป็นการประจำ ต่อเนื่องด้วยทีมสหวิชาชีพ เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน และให้มีการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยเป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากนโยบายหมอประจำครอบครัว ซึ่งได้จัดทีมหมอครอบครัว (FCT) 1 ทีม ให้การดูแลประชาชาชนทุกสิทธิ์ 10,000 คน  ประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพ ปฏิบัติงานเต็มเวลา ดังนี้
1.       แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว(วุฒิ อว.หรือ วว.) 1 คน เป็นหัวหน้าทีม
2.       พยาบาลเวชปฏิบัติ หรือพยาบาลวิชาชีพ อย่างน้อย 4 คน
3.       นักวิชาการสาธารณสุข หรือ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน อย่างน้อย 4 คน
4.   ทันตาภิบาล 1 คน
5.   แพทย์แผนไทย 1 คน

กลุ่มเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Cluster) 1 Cluster ประกอบด้วย FCT 3 ทีม ให้การดูแลประชาชาชนทุกสิทธิ์ 30,000 คนประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพ ดังนี้
บุคลากรปฏิบัติงานเต็มเวลา ได้แก่
1.  แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (วุฒิ อว.หรือ วว.) 3 คน เป็นหัวหน้าทีม 
2.  พยาบาลเวชปฏิบัติ หรือพยาบาลวิชาชีพ อย่างน้อย 12 คน
3.  นักวิชาการสาธารณสุข หรือ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน อย่างน้อย 12 คน
4.  ทันตาภิบาล 3 คน
5.  แพทย์แผนไทย 3 คน
บุคลากรปฏิบัติงานเต็มเวลา หรือหมุนเวียน อย่างน้อยเดือนละ 1 วัน ได้แก่
1.     ทันตแพทย์ 1 คน
2.     เภสัชกร 1 คน
3.     เจ้าพนักงานเภสัชกรรม 2 คน
4.     นักกายภาพบำบัด 1 คน

5.     อื่นๆ ตามความจำเป็น

สำหรับ PCU สารภี เป็นหนึ่งทีมใน PCC ไชย ชม ป่า สา หรือเครือข่ายบริการของตำบลไชยสถาน ตำบลชมภู ตำบลป่าบงและตำบลสารภี โดยมีศูนย์กลางที่ตำบลชมภู กำหนดจัดตั้งในปีงบประมาณ 2561 ให้บริการประชาชนทุกคน ทุกอย่าง ทุกที่ ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยี แต่จะเห็นว่าบุคลากรของ PCU สารภี ยังไม่ครบตามเกณฑ์ แต่เนื่องจากสถานที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาล ทำให้เรามีข้อได้เปรียบในการใช้บุคลากรในโรงพยาบาลร่วมกันได้ ทำให้การให้บริการยังเป็นไปตามเกณฑ์
  ความคาดหวังของการจัดตั้ง กลุ่มเครือข่ายบริการปฐมภูมิ หรือ PCC จะช่วยลดความแออัดในการใช้บริการที่โรงพยาบาล ลดการรอคอยในการไปพบแพทย์ ลดค่าใช้จ่ายของประชาชนและครอบครัวในการเดินทาง ในระยะยาว ประชาชนสามารถที่จะจัดการสุขภาพของตนเองได้ ให้ลดการป่วย ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง และลดอัตราเสียชีวิตจากภาวะโรคได้



การดูแลร่วมกันของทีมหมอครอบครัวสำหรับผู้ป่วยติดเตียง  เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยที่ติดเตียงจากโรคเรื้อรัง และสามารถเสริมกำลังใจให้ผู้ดูแลมีความมั่นใจในการดูแลได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ประชาชน อสม. สามารถติดตามความคืบหน้าและการพัฒนาของคลินิกหมอครอบครัวได้ทางLine@primarycarecluster (คลินิกหมอครอบครัว) และ Facebook fanpage PR4PCC (คลินิกหมอครอบครัว) โดยจัดทีม Admin ตอบคำถาม และสื่อสารข้อมูลความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพป้องกันควบคุมโรค เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ สามารถดูแลจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัวได้อย่างถูกต้อง

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ประจำปี 2558



ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลสารภีจะรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลให้กับประชาชนฟรีจำนวน 270 คน ให้แก่ประชาชน กลุ่มประชาชนกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย
1. ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป 
2.หญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 
3.เด็กอายุ 6 เดือน-2 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง ไตวาย หอดหืด ปอดอุดกั้น โรคหัวใจ และมะเร็ง 

โดยจัดกิจกรรมวันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2558 เวลา 08.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมเอื้องผึ้ง รพ.สารภี

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

อสม. ตำบลสารภีร่วมงานรณรงค์ลดหมอกควัน ปี 2558 และ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

อสม. ตำบลสารภีและผู้นำชุมชนตำบลสารภี ร่วมงานรณรงค์ลดหมอกควัน ประจำปี 2558 
และ โครงการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อแก้ไขและป้องกันยาเสพติด  
เมือวันที่ 5 มีนาคม 2558 เวลา 0.830 - 12.00 น. 
ณ ตลาดกลางสินค้าเกษตร ตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 






การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด




วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

ประชาสัมพันธ์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบแก่ประชาชนอายุ 20 - 50 ปี



กระทรวงสาธารณสุข ร่วมรณรงค์ป้องกันโรคคอตีบด้วยวัคซีน เพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของโรคคอตีบ ขอเชิญผู้ที่มีอายุ 20-50 ปี เข้ารับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ และบาดทะยัก ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัญใกล้บ้าน ฟรี !! "ได้ก่อน มีภูมิก่อน ปลอดภัยก่อน"


โรคคอตีบ เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างพิษก่อให้เกิดการอักเสบ และทำให้เกิดเนื้อตายเป็นหนาในลำคอหรือหลอดลม เกิดการตีบตันของการเดินหายใจ และทำอันตรายต่อระบบอื่นๆได้ การติดต่อจากการไอจามรดกัน ใช้ของร่วมกัน สามารถติดต่อได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่ำ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก และพบการระบาดในช่วงอายุ 20 –50 ปี

ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลสารภี จึงขอเชิญชวนผู้ที่มีอายุระหว่าง 20 – 50 ปี ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สามารถติดต่อขอรับการวัคซีนรวม คอตีบ บาดทะยักได้ฟรี ตามกำหนดการฉีดวัคซีนดังนี้

หมู่ที่ 1      19 มกราคม 2558     09.00 - 12.00 และ 17.00 - 20.00 น.   ณ ศาลากลางบ้าน
หมู่ที่ 2      20 มกราคม 2558     09.00 - 12.00 และ 17.00 - 20.00 น.   ณ วัดสารภี
หมู่ที่ 3      26 มกราคม 2558     09.00 - 12.00 และ 17.00 - 20.00 น.   ณ ศาลาเอนกประสงค์
หมู่ที่ 4      25 มกราคม 2558     09.00 - 12.00 และ 17.00 - 20.00 น.   ณ ศาลาเอนกประสงค์
หมู่ที่ 5      27 มกราคม 2558     09.00 - 12.00 และ 17.00 - 20.00 น.   ณ ศูนย์ ศสมช.
หมู่ที่ 6      28 มกราคม 2558     09.00 - 12.00 และ 17.00 - 20.00 น.   ณ วัดปากกอง
หมู่ที่ 7      29 มกราคม 2558     09.00 - 12.00 และ 17.00 - 20.00 น.   ณ บ้านประธาน อสม.
หมู่ที่ 8      30 มกราคม 2558     09.00 - 12.00 และ 17.00 - 20.00 น.   ณ วัดกอประจำโฮง
หมู่ที่ 9      2 กุมภาพันธ์ 2558    09.00 - 12.00 และ 17.00 - 20.00 น.   ณ ศูนย์ ศสมช.
หมู่ที่ 10    3 กุมภาพันธ์ 2558    09.00 - 12.00 และ 17.00 - 20.00 น.   ณ ศูนย์ ศสมช.

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลสารภี โทร 053-321179 ต่อ 245 
Facebook : PCUSaraphi


วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เดินหน้าสมานฉันท์ ร่วมกันปฏิรูป สังคมสุภาวะ ครั้งที่ 7


นพ.จรัส สิงห์แก้ว รศ.วิลาวัณย์ เสนารัตน์ รศ.ดร.เอกรัฐ บุญเชียง ผศ.ดร.วราภรณ์ บุญเชียง นายชัชวาล โพธิยอด นางธัญญาลักษณ์ ไชยรินทร์ ร่วมเป็นวิทยากรพูดคุย แลกเปลี่ยนซักถามและสาธิตการใช้งาน เรื่อง"Saraphi Health"ต้นแบบระบบข้อมูลสุขภาพระดับอำเภอ
-ที่มาSaraphi Health-จุดเด่นของSaraphi Health-การนำไปใช้ประโยชน์-ความเปลี่ยนแปลง

ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เดินหน้าสมานฉันท์ ร่วมกันปฏิรูป สังคมสุภาวะ ครั้งที่ 7 ณ ห้องประชุม 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อินแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ระหว่างวันที่ 24-26 ธันวาคม 2557



ขอบคุณรูปและบทความจาก Fan page Saraphi Health Model





โครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชฯ

PCU สารภีร่วมงานบวชต้นยางนา ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชฯ ณ สุสานปิงห่าง ตำบลสารภี
ภายในงานมีกิจกรรมเดินขบวนอนุรักษ์ต้นยาง บวชต้นยาง เสวนาเฮาฮักต้นยาง ประกวดรถถีบบ่ะเก่า รถโฟล์คเต่า และถ่ายรูป ณ จุดต่างภายในงาน



ลุงสมบูรณ์ บุญชู ตำนานอาสาสมัครด้านสิ่งแวดล้อม


นายอำเภอสารภีให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน

เจ้าหน้าที่ PCU สารภีร่วมกับงานชุมชนฯ บวชต้นยางนา

งานเสวนาเฮาฮักต้นยาง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แนวคิดการพัฒนาตำบลสารภีให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพราะต้นยางนาเขตตำบลสารภีมีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด 



วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประชาสัมพันธ์ตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ฟรี




ประชาสัมพันธ์

              ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลสารภีบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ฟรี โดยรถโมไบล์



              ณ ศาลาแม่บ้านหมู่ ๗ บ้านสันกับตองใต้ ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่

เชิญชวนสตรีอายุตั้งแต่ ๓๐ -๖๐ ปี ที่อาศัยในตำบลสารภีทุกท่านเข้ารับการตรวจโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในวันอาทิตย์ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๗    เวลา ๐๙.๐๐- ๑๕.๐๐ น.

ก่อนรับการตรวจมะเร็งปากมดลูกควรปฏิบัติดังนี้

ควรปัสสาวะทิ้งให้หมดก่อน เพื่อที่แพทย์จะได้คลำขนาดมดลูกและปีกมดลูกให้ชัดเจน
        ถ้ามีปัญหาเรื่องกระเพาะปัสสาวะ สูตินรีแพทย์อาจสวนตรวจเพาะเชื้อโรคและให้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อโรคนั้นๆ
        ถ้ามีปัญหาเรื่องตกขาวมีกลิ่น คัน ตกขาวเปลี่ยนสี ไม่ควรสอดยามาเอง ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ตรวจเชื้อได้ถูกต้อง ให้ยาได้ทันท่วงที ถ้าสอดยามา จะมียาเต็มในช่องคลอด จะตรวจไม่ได้
        ไม่ควรใช้น้ำยาล้างลึกเข้าไปในช่องคลอดก่อนมาตรวจมะเร็งปากมดลูก หรือมาตรวจการ เพราะภาวะความเป็นกรดด่างถูกทำลาย เซลล์ที่หลุดลอกออกมาถูกล้างไปหมด
        ไม่ต้องงดอาหารและน้ำดื่มมาในการตรวจภายในมาตรวจได้เลย ทางสูตินรีแพทย์จะ ตรวจคลำเต้านมให้ด้วย ถ้ามีน้ำไหลจากหัวนม จะบีบใส่ slide ไปตรวจเซลล์มะเร็ง
        ในการวินิจฉัยบางโรค เช่น เยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่ อาจตรวจทางทวารหนักร่วมด้วยโดยใช้นิ้วชี้ตรวจทางช่องคลอด นิ้งกลางตรวจทางทวารหนัก และอีกมือคลำหน้าท้องด้วย 


        เวลาตรวจภายในจะเริ่มจาก ดูต่อม Bartholin และต่อม Skene ซึ่งหลั่งสิ่งหล่อลื่นในช่องคลอดรวมทั้งกลิ่นด้วย ว่ามามีหนองหรือเป็น cyst ไหม มีการหย่อนด้านหลังของผนังช่องคลอดไหม ตรวจดูว่าหูรูดกระเพาะปัสสาวะหย่อนหรือไม่ ให้เบ่งดูหรือไอดูขณะมีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะอยู่เต็ม ว่าเล็ดกระเด็นออกมาหรือไม่ มดลูกเคลื่อนต่ำลงมาหรือเปล่า มีหนองอยู่ในที่ปัสสาวะและในช่องคลอดหรือไม่ สังเกตปากมดลูกว่าปลิ้น มีรอยฉีกขาด อักเสบเรื้อรัง หรือมีหนองจากรูมดลูกหรือไม่ จังหวะนี้ก็จะตรวจมะเร็งปากมดลูกจากรูมดลูก รอบคอมดลูก และด้านหลังของช่องคลอด ส่วนลึกต่ำกว่าปากมดลูก นอกจากนี้ก็จะคลำขนาด ตำแหน่ง การเคลื่อนไหวของมดลูก กดแล้วเจ็บหรือไม่ รวมทั้งผิวเรียบหรือไม่ และคลำปีกมดลูก 2 ข้างด้วย เพื่อดูเนื้องอกรังไข่และท่อรังไข่ว่ามีความผิดปกติอย่างไรหรือไม่ 

        การตรวจภายในไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่อย่างใด แต่จะกลับทำให้ผู้หญิงเรามั่นใจได้ว่าสุขภาพสตรีของตัวเองนั้นปกติดีหรืไม่ หรือหากพบความผิดปกติก็จะได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ง่ายต่อการรักษาและหายได้เร็ว ลดโอกาสการสูญเสียต่างๆ ได้มากกว่าค่ะ 


วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

การตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบ VIA


การป้องกัน "มะเร็งปากมดลูก" โดยการใช้น้ำส้มสายชู
และการรักษาความผิดปกติของปากมดลูกที่จะเป็นมะเร็ง โดยการจี้เย็น

มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้หรือไม่ ?     มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้โดยการตรวจหาความผิดปกติของปากมดลูกได้รับการรักษาและตรวจติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ
มะเร็ง...ของปากมดลูกเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
     เกิดจากการติดเชื้อ HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย มีบุตรหลายคน หรือมีคู่นอนหลายคน เมื่อได้รับเชื้อ HPV แล้วความผิดปกติของปากมดลูกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ เป็นระยะเวลา 10 - 15 ปี จึงจะกลายเป็นมะเร็ง โดยที่สตรีนั้นไม่มีอาการผิดปกติ แต่จะมีปากมดลูกผิดปกติอยู่ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเวลาตรวจภายใน
การตรวจ...หาความผิดปกติของปากมดลูกและการรักษาความผิดปกติ     การตรวจหาความผิดปกติของปากมดลูกนั้นมีหลายวิธี วิธีที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิมคือ Pap smear คือ การนำเซลล์ของปากมดลูกไปตรวจย้อมเชื้อหาความผิดปกติของปากมดลุก เมื่อพบว่ามีความผิดปกติจะแจ้งผลตรวจให้สตรีผู้นั้นทราบ และให้มาตรวจปากมดลูกซ้ำโดยการใช้น้ำส้มสายชู 3 - 5% ป้ายที่ปากมดลูกจะเห็นความผิดปกติของปากมดลูกได้เจน แล้วจึงนำไปรักษาความผิดปกติของปากมดลูกโดยวิธีจี้เย็น หรือตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยตามแต่ขนาดของความผิดปกติที่พบได้ การตรวจหาความผิดปกติของปากมดลูกโดยวิธี Pap Smear จะใช้เวลาประมาณ 1 - 5 เดือน จึงจะทราบผล และใช้เวลาอีกประมาณ 1 - 2 เดือนกว่าจะได้รับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีที่อยู่ในชนบท ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางและเวลาในการทำงาน
การตรวจ...หาความผิดปกติของปากมดลูกและการรักษาโดยวิธีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ     โดยการใช้น้ำส้มสายชูมาป้ายปากมดลูกเพื่อให้เห็นความผิดปกติของปากมดลูก เพราะน้ำส้มสายชูจะไปทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อที่ผิดปกติของปากมดลูกให้เห็น เป็นฝ้า สีขาว ขอบเขตชัดเจน และตำแหน่งที่แน่นอน สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (visual inspection with acetic acid = VIA) หลังจากป้ายน้ำส้มสายชู ทิ้งไว้ 1 นาที ก็สามารถตอบได้ว่าปากมดลูกปกติหรือผิดปกติ ถ้าผิดปกติจะเห็นเป็นฝ้าสีขาว มีขนาดและขอบเขตชัดเจน ถ้าความผิดปกตินั้นมีขนาดเล็ก เห็นขอบเขตชัดเจนก็จะได้รับการรักษาด้วยการจี้เย็นทันที ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 13 นาที โดยไม่ต้องใช้ยาชา ไม่ต้องอยู่โรงพยาบาล ไม่มีโรคแทรกซ้อน และไม่เจ็บปวด หลังจากได้รับการรักษาสตรีผู้นั้นจะได้รับการตรวจติดตามผลอีก 3 - 4 เดือนต่อมา และทุก ๆ 1 ปี สำหรับสตรีที่ได้รับการตรวจแล้วผลปกติจะได้รับการตรวจซ้ำอีก 5 ปีต่อมา จะเห็นว่าการตรวจหาความผิดปกติของปากมดลูกและการรักษาโดยการจี้เย็นใช้เวลา ทั้งหมดประมาณไม่เกิน 20 นาที ข้อดีคือรู้ผลทันทีและได้รับการรักษาทันที สำหรับสตรีที่มีความผิดปกติ (มีฝ้าขาว) เห็นขอบไม่ครบ หรือมีขนาดกว้างมาก จะได้รับการส่งต่อไปรักษาโดยวิธีอื่น
สตรี..ที่ควรได้รับการตรวจหาความผิดปกติของปากมดลูกโดยวิธีใช้น้ำส้มสายชู     1. อายุน้อยกว่า 45 ปี เพราะสามารถเห็นตำแหน่งที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ชัดเจน
     2. มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
     3. แต่งงานแล้ว
     4. มีบุตรหลายคน
     5. มีคู่นอนหลายคน
     6. ไม่มีอาการผิดปกติ
อายุที่ควรเริ่มตรวจและความถี่ของการตรวจ     1. อายุ 30 - 45 ปี
     2. ควรตรวจซ้ำทุก 5 ปี หลังจากที่ตรวจครั้งแรก มีผลปกติ


การเตรียมตัวก่อนมาตรวจ
     1. หลังประจำเดือนหมดประมาณ 7 วัน
     2. งดการเหน็บยา 4 - 5 วัน
     3. งดการมีเพศสัมพันธ์ 2 - 3 วัน
อาการและการปฏิบัติตัวหลังจี้เย็น     1. จะมีตกขาวมากกว่าปกติ จนอาจต้องใช้ผ้าอนามัยเป็นเวลา 3 - 4 สัปดาห์
     2. งดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 2 - 3 สัปดาห์
     3. อาจมีการปวดท้องน้อยให้รับประทานยาแก้ปวด
     4. ถ้ามีเลือดออก ซึ่งไม่ใช่ประจำเดือน มีไข้ มีตกขาว มีกลิ่น หรือมีอาการปวดท้องน้อยมาก รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่หาย ควรไปพบแพทย์
ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลสารภี จะได้จัดให้มีการรณรงค์ตรวจหามะเร็งปากมดลูกโดยใช้วิธีน้ำส้มสายชูแก่สตรีในเขตตำบลสารภีที่มีอายุตั้งแต่ 30 - 45 ปี  ประจำปีงบประมาณ 2555 ในวันที่ 15 -24 พฤษภาคม 2555
จึงขอเชิญท่านเข้ารับการตรวจโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด (สำหรับผู้ถือบัตรทองในเขตตำบลสารภี และผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม)


วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบบริหารความเสี่ยง


ระบบบริหารความเสี่ยงหน่วยงาน ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลสารภี
.............................

     I.        นโยบาย
-       หน่วยงานให้บริการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของ ผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่
-       หน่วยงานมีบัญชีรายการความเสี่ยง  และมาตรการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ
-       หัวหน้าหน่วยงานมีบทบาทเป็นผู้จัดการความเสี่ยงของหน่วยงาน
   II.        ความรับผิดชอบ
             หัวหน้าหน่วยงาน
                -
ทบทวนนโยบายและแผนดำเนินการบริหารความเสี่ยง


-  พิจารณาคำร้องเรียน และการเรียกร้องค่าเสียหาย
-  ส่งเสริมให้มีการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
-  ส่งเสริมให้เกิด การสร้างวัฒนธรรมปลอดภัย อยู่ในกิจกรรมปกติประจำวัน
-  ประเมินผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานปีละ  1  ครั้ง
-  ประสานกิจกรรมบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล
-  รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลทุก 3  เดือน
-  ให้คำปรึกษา แนะนำ แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน เกี่ยวกับกิจกรรมบริหารความเสี่ยง
-  ให้ความรู้และสร้างความตระหนัก  เรื่อง  การบริหารความเสี่ยงแก่บุคลากร
-  วางระบบบริหารความเสี่ยง ค้นหา วิเคราะห์ และจัดทำบัญชีความเสี่ยง ของหน่วยงาน จัดทำมาตรการการป้องกันและจัดการที่ชัดเจนในประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญๆ
-  ประเมินผล ติดตาม วิเคราะห์แนวโน้ม ความเสี่ยง และปรับปรุงบัญชีความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ  1 ครั้ง
-  มีการสื่อสารในหน่วยงาน ให้เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจในประเด็นเสี่ยงที่สำคัญ ส่งเสริมให้เกิดการสร้างวัฒนธรรมปลอดภัย อยู่ในกิจกรรมปกติประจำวัน
-  ประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารความเสี่ยง การดักจับความเสี่ยง  การแก้ไขปัญหา  การหาสาเหตุราก  สาเหตุเชิงระบบ  แนวทางป้องกันและลดความสูญเสียที่วางไว้มีประสิทธิภาพหรือไม่
   เจ้าหน้าที่
-  เรียนรู้เรื่องความเสี่ยงของหน่วยงานและโรงพยาบาล ปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน
ความเสี่ยงที่กำหนด
-  รายงานอุบัติการณ์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
-  เสนอแนะแนวทางการป้องกันความเสี่ยง ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในการป้องกันความเสี่ยง
 III.        คำจำกัดความ
1.     ความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่จะประสบกับความสูญเสีย หรือสิ่งไม่พึงประสงค์ โอกาสความน่าจะเป็นที่จะเกิดอุบัติการณ์
2.     อุบัติการณ์ (incident) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย,จิตใจ,ชื่อเสียง,ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม  ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ คำร้องเรียนหรือการฟ้องร้อง
  อุบัติการณ์ที่เกิดกับผู้ป่วยรายแรก คือ ความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับผู้ป่วยรายอื่นๆ
3.     เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (adverse event) คือ อุบัติการณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ครอบคลุมถึงการเกิดโรค ภาวะแทรกซ้อน การบาดเจ็บ ความทุกข์ทรมาน ความพิการ และการเสียชีวิต
     และอาจจะเป็นอันตรายทางด้านสังคม หรือจิตใจ
4.     sentinel event คือ ความเสี่ยงที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตหรืออันตรายขั้นรุนแรง ที่ต้องตื่นตัว ใส่ใจ ให้ความสำคัญสูง
5.     เหตุเกือบพลาด (near miss )คือ การกระทำหรือละเว้นการกระทำซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย แต่ไม่เกิดอันตรายเนื่องจากความบังเอิญ การป้องกัน หรือการทำให้ปัญหาทุเลาลง
6.     วัฒนธรรมความปลอดภัย (safety culture) คือคุณลักษณะขององค์กรในด้านความปลอดภัยดังนี้
(1) การรับรู้ถึงธรรมชาติขององค์กรที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสเกิดความผิดพลั้ง
(2)ลักษณะองค์กรที่ไม่มีการตำหนิกัน บุคลากรสามารถรายงานความผิดพลั้ง โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะถูกลงโทษ
(3) มีความร่วมมือกันอย่างกว้างขวางเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆ
(4) ความเต็มใจขององค์กรที่จะสนับสนุนทรัพยากรเพื่อความปลอดภัย

  1. ระเบียบปฏิบัติ
1.     การค้นหาความเสี่ยง  เราสามารถค้นหาความเสี่ยงได้จาก
ก.    เรียนรู้จากบทเรียนของผู้อื่น เช่น รายงานจากสื่อมวลชน การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ การเรียนรู้จากโรงพยาบาลอื่น
ข.    ทบทวนความรู้ทางวิชาการ เช่น การทบทวนวรรณกรรม (รวมทั้ง patient safety guide :SIMPLE)
ค.    ทบทวนบทเรียนของเราเอง
• เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เช่น รายงานอุบัติการณ์ การทบทวนเวชระเบียน
กิจกรรมทบทวนทางคลินิก ตัวชี้วัดต่างๆ บันทึกต่างๆ
• เหตุการณ์ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น เช่น การวิเคราะห์กระบวนการการตามรอยทางคลินิก,
 การสำรวจในสถานที่จริง, การตามรอยกระบวนการ,
 การวิเคราะห์ FMEA (โอกาสที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคตในระบบงานใหม่ เครื่องมือใหม่ สถานที่ปฏิบัติงาน โดยตั้งคำถามจะเป็นอย่างไรถ้า.....)
·  ค้นหาจากประสบการณ์ของบุคคล

2.     การวิเคราะห์ความเสี่ยง   รายการความเสี่ยงที่ค้นหาได้ อาจรวบรวมไว้ในบัญชีรายการความเสี่ยงของหน่วยงานหรือตารางเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ความสำคัญของความเสี่ยง
อาจจัดหมวดหมู่ของความเสี่ยงเพื่อจะได้ค้นหาได้ครอบคลุม เช่น ด้านอันตรายต่อผู้ป่วย ด้านอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านข้อมูลข่าวสาร

รายการความเสี่ยง
ความรุนแรง
จำนวนอุบัติการณ์
.
.
.
.
.
มี.
เม.
.
มิ.
.
.
.
รวม
1.ให้ยาผิดเวลา ผิดคน ผิดขนาด


AB













CD












EF












2.หลอดเลือดอักเสบจาการให้สารน้ำ


CD













EF













ตารางจัดระดับความสำคัญของความเสี่ยง  (Risk  Matrix)
โอกาสเกิดซ้ำ
ความรุนแรง
AB
CD
EF
GHI
เกิดบ่อย  เกิดขึ้นหลายครั้งในรอบปี
ต่ำ(L)
ปานกลาง(M)
สูง(H)
สูง(H)

เกิดเป็นครั้งคราวเกิดขึ้น 2 – 3 ครั้งในรอบปี

ต่ำ(L)

ปานกลาง(M)

สูง(H)

สูง(H)

เกิดขึ้นน้อย  2 – 3  ครั้งในรอบ  2 – 3  ปี

ต่ำมาก(LL)

ต่ำ(L)

ปานกลาง(M)

สูง(H)

เกิดน้อยมาก  เกิด1 – 2  ครั้งในรอบ 3 – 5ปี 
เกิดขึ้นที่  รพ.อื่น
ต่ำมาก(LL)

ต่ำ(L)

ปานกลาง(M)
สูง(H)



รายการความเสี่ยง
วิเคราะห์ความเสี่ยง
หมายเหตุ

ความถี่
ความรุนแรง
ระดับความเสี่ยง


















3.    การจัดการความเสี่ยง
o     การจัดการความเสี่ยงก่อนเกิดเหตุ
ก.         นำรายการความเสี่ยงที่สำคัญจากข้อ 1  มาจัดทำบัญชีความเสี่ยงของหน่วยงาน
 โดยรายการความเสี่ยงที่มีระดับความสำคัญสูง และปานกลาง  ต้องมีแผนการจัดการความเสี่ยง ทุกรายการ
ข.         วิธีการควบคุมความเสี่ยง
1)   หลีกเลี่ยงความเสี่ยง
2)   ถ่ายโอนความเสี่ยง
3)   การแบ่งแยกความเสี่ยง
4)   การป้องกันความเสี่ยง
                 การปกป้อง การใช้เครื่องป้องกัน
                 การมีระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกันและมาตรฐานเกี่ยวกับเครื่องมือ
                 การมีระเบียบปฏิบัติและวิธีปฏิบัติในการทำงาน
                 การควบคุมกำกับ
                 การให้ความรู้ ทักษะแก่เจ้าหน้าที่
                     
ค.         การจัดทำมาตรการจัดการความเสี่ยง
1)   แนวทางป้องกัน การจัดระบบป้องกันความผิดพลาด      
§  การเตรียมคน
§  การเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ
§  การเตรียมข้อมูลข่าวสาร
§  วิธีปฏิบัติงานที่รัดกุม
§  การควบคุมกระบวนการ
2)   แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหา
§ การตรวจพบปัญหา จะตรวจพบปัญหาให้เร็วที่สุดได้อย่างไร โดยใคร เป็นการจัดการวิธีค้นหาความผิดพลาดเหล่านั้นให้ปรากฏเพื่อเราจะได้หยุดได้ทัน
§  การลดความเสียหาย จะแก้ปัญหาอย่างไร  โดยใคร เป็นการจัดระบบที่ลดความรุนแรงของความเสียหายเมื่อความผิดพลาดดังกล่าวไม่สามารถหยุดได้ทัน
§ การรายงาน ควรรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงระดับใด วิธีใด
o    การจัดการความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุ
ก.    การระงับเหตุ
-  เมื่อสถานการณ์ความเสี่ยงเกิดขึ้น ให้ผู้ประสบเหตุ เข้าระงับเหตุทันที  ถ้าไม่สามารถระงับเหตุได้ แจ้งหัวหน้าหน่วยงานทันที เฉพาะเหตุที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทันที
-  กรณีหัวหน้าฝ่ายงาน ระงับเหตุไม่ได้ ให้รายงานแพทย์เวรหรือแพทย์เจ้าของไข้ พิจารณาสั่งการระงับเหตุทางการแพทย์  หรือให้รายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป พิจารณาสั่งการระงับเหตุด้านอื่นๆ
ข.    การรายงานอุบัติการณ์
-  ผู้ประสบเหตุ เป็นผู้เขียนบันทึกอุบัติการณ์ รายงานหัวหน้าหน่วยงานทราบภายใน 24 ชั่วโมง
-  กรณีมีผู้ประสบเหตุหลายคน ให้ผู้ที่เป็นหัวหน้าเวร เป็นผู้เขียนบันทึก
-  กรณีเป็นคำร้องเรียน ผู้รับคำร้องเรียนเป็นผู้เขียนบันทึกอุบัติการณ์
-  กรณีเป็นเรื่องที่อาจเกิดการฟ้องร้องหรือเสื่อมเสียชื่อเสียงของโรงพยาบาลหรือบุคคล ให้รายงานด้วยใบบันทึกอุบัติการณ์และเก็บรักษาในที่ปลอดภัย
-  กรณีเหตุการณ์รุนแรงระดับGHIขึ้นไปหรือเป็นเหตุการณ์ที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ ให้มีการรายงานด้วยวาจาก่อนทันทีที่ทำได้ กรณีอุบัติการณ์มีความรุนแรงสูง ให้รายงานผู้อำนวยการทันที

ค.    หัวหน้าหน่วยงาน ตรวจสอบ วิเคราะห์ความรุนแรง  สาเหตุเบื้องต้นและสาเหตุเชิงระบบ Root cause  analysis(RCA)  และวางแผนการปรับปรุงตามความสำคัญของเหตุการณ์

ระดับความเสี่ยง
ระยะเวลาการรายงาน
แนวทางการดำเนินการ
G - I
ภายใน  48  ชั่วโมง
-          ต้องทำ  RCA  หรือทบทวนมาตรการความเสี่ยง  ภายใน  1  เดือน
E - F
ภายใน  1  เดือน
-          ทำ  RCA  หรือทบทวนมาตรการความเสี่ยง  ภายใน  3  เดือน
A - D
ทุก  3  เดือน
-          ทำ  RCA  เป็นรายกรณี  หรือทบทวนข้อมูลรวม  (Aggregate  Review) ภายใน  1  ปี




4.    การประเมินผล
o   การนำเหตุการณ์ และความสูญเสียที่เกิดขึ้นมาตรวจสอบทบทวนสาเหตุโดยให้ความสำคัญกับอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ หรือรุนแรงคำถามที่ต้องถามคือ
              อุบัติการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรทั้งที่มีมาตรการป้องกันแล้ว
              อุบัติการณ์นี้มีสาเหตุจากระบบหรือไม่ มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีกได้หรือไม่
              สาเหตุราก หรือ รากเหง้าของปัญหา คืออะไร
o   การทบทวนว่ากลยุทธ์ที่ใช้อยู่นั้นได้ผลดีหรือไม่ โดยการติดตามแนวโน้มของการเกิดอุบัติการณ์ การเกิดซ้ำ ความรุนแรง ติดตามแผนการแก้ไขปรับปรุงตามสาเหตุราก และตรวจสอบว่า มาตรการที่ใช้ป้องกัน เหมาะสมหรือไม่
o   ตรวจสอบความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
o   การประเมินผลเป็นการสะท้อนกลับ( feedback) ซึ่งจะก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง หรือการแก้ไขกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว
o   การหาสาเหตุราก

การจัดการให้ปลอดภัย
      ความผิดพลาดนั้นเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของมนุษย์  ดังนั้นการจัดการเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยจึงยึดหลักว่า  แม้ว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดความผิดพลาด  แต่เราสามารถออกแบบระบบที่ลดความผิดพลาดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย  โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญในการจัดระบบสามประการ ได้แก่
1. การจัดระบบป้องกันความผิดพลาด  เช่นการใช้คอมพิวเตอร์  ระงับการจ่ายยาที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา  การใช้  CareMap  ในการสั่งการรักษาโรคที่มีรายละเอียดมาก  เป็นต้น
2. การจัดการวิธีค้นหาความผิดพลาดเหล่านั้นให้ปรากฏเพื่อเราจะได้หยุดได้ทัน  เช่น  การตรวจซ้ำในเรื่องชนิด  และขนาดของยาอันตรายที่จะให้ผู้ป่วย   การรายงานอุบัติการณ์ความผิดพลาดโดยยังไม่เกิดอันตรายกับผู้ป่วย  การทบทวนการดูแลผู้ป่วย  เป็นต้น
3. การจัดระบบที่ลดความรุนแรงของความเสียหายแม้ความผิดพลาดดังกล่าวไม่สามารถหยุดได้ทันจนทำให้เกิดอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์  เช่น  การเตรียม  antidote  ให้พร้อมใช้หากมีการใช้ยาอันตราย  ผิดพลาด การเตรียมพร้อมเพื่อช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วย  เป็นต้น
เทคนิค  ในการจัดการเพื่อลดความผิดพลาด  และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์  ได้แก่
1. การลดการพึงพาความจำ  เช่น  การใช้  checklist,  protocol,  CPG,  CareMap  ในขั้นตอนที่เสี่ยงสูง หรือผิดพลาดได้ง่าย
2. การใช้ข้อมูลที่สะดวก  เช่น  การออกแบบเวชระเบียนที่สะดวกต่อการหาข้อมูลจำเป็นของผู้ป่วย  การรายงานอุบัติการณ์ที่ไม่ยุ่งยาก
3. ระบบความป้องกันความผิดพลาด  เช่น  มีระบบที่แจ้งเตือน  หรือระบบห้ามสั่งยาที่ผู้ป่วยแพ้ 
4. การปรับให้ระบบงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน  เช่น  การจัดทำวิธีปฏิบัติงาน 
5. การฝึกอบรมให้บุคลากรมีความรู้อย่างเพียงพอในเรื่องที่จำเป็น  เช่น  การอบรมการบริหารความเสี่ยง  การอบรมความรู้เรื่องโรคหรือหัตถการที่มีความเสี่ยงสูง
6. การทบทวนกระบวนการ เพื่อลดความซับซ้อน  หรือขั้นตอน  ทางเลือก  เวลา 
7. การลดความเสี่ยงหากมีความเปลี่ยนแปลงระบบ  เช่น  กำหนดข้อควรระวัง  ทดลองปฏิบัติ  ติดตามผลลัพธ์
8. การลดความเครียดในการทำงาน  เช่น  การจัดสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดความกังวล  หรือเหนื่อยล้าเกินไป