วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

คลินิกหมอครอบครัว ทิศทางใหม่ของPCU

ระบบการแพทย์ปฐมภูมิ (Primary Care Cluster: PCC) หมายถึง การรวมกลุ่มของหน่วยบริการปฐมภูมิ ให้เป็นเครือข่ายการดูแลประชาชน ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบร่วมกันเป็นการประจำ ต่อเนื่องด้วยทีมสหวิชาชีพ เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน และให้มีการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยเป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากนโยบายหมอประจำครอบครัว ซึ่งได้จัดทีมหมอครอบครัว (FCT) 1 ทีม ให้การดูแลประชาชาชนทุกสิทธิ์ 10,000 คน  ประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพ ปฏิบัติงานเต็มเวลา ดังนี้
1.       แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว(วุฒิ อว.หรือ วว.) 1 คน เป็นหัวหน้าทีม
2.       พยาบาลเวชปฏิบัติ หรือพยาบาลวิชาชีพ อย่างน้อย 4 คน
3.       นักวิชาการสาธารณสุข หรือ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน อย่างน้อย 4 คน
4.   ทันตาภิบาล 1 คน
5.   แพทย์แผนไทย 1 คน

กลุ่มเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Cluster) 1 Cluster ประกอบด้วย FCT 3 ทีม ให้การดูแลประชาชาชนทุกสิทธิ์ 30,000 คนประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพ ดังนี้
บุคลากรปฏิบัติงานเต็มเวลา ได้แก่
1.  แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (วุฒิ อว.หรือ วว.) 3 คน เป็นหัวหน้าทีม 
2.  พยาบาลเวชปฏิบัติ หรือพยาบาลวิชาชีพ อย่างน้อย 12 คน
3.  นักวิชาการสาธารณสุข หรือ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน อย่างน้อย 12 คน
4.  ทันตาภิบาล 3 คน
5.  แพทย์แผนไทย 3 คน
บุคลากรปฏิบัติงานเต็มเวลา หรือหมุนเวียน อย่างน้อยเดือนละ 1 วัน ได้แก่
1.     ทันตแพทย์ 1 คน
2.     เภสัชกร 1 คน
3.     เจ้าพนักงานเภสัชกรรม 2 คน
4.     นักกายภาพบำบัด 1 คน

5.     อื่นๆ ตามความจำเป็น

สำหรับ PCU สารภี เป็นหนึ่งทีมใน PCC ไชย ชม ป่า สา หรือเครือข่ายบริการของตำบลไชยสถาน ตำบลชมภู ตำบลป่าบงและตำบลสารภี โดยมีศูนย์กลางที่ตำบลชมภู กำหนดจัดตั้งในปีงบประมาณ 2561 ให้บริการประชาชนทุกคน ทุกอย่าง ทุกที่ ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยี แต่จะเห็นว่าบุคลากรของ PCU สารภี ยังไม่ครบตามเกณฑ์ แต่เนื่องจากสถานที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาล ทำให้เรามีข้อได้เปรียบในการใช้บุคลากรในโรงพยาบาลร่วมกันได้ ทำให้การให้บริการยังเป็นไปตามเกณฑ์
  ความคาดหวังของการจัดตั้ง กลุ่มเครือข่ายบริการปฐมภูมิ หรือ PCC จะช่วยลดความแออัดในการใช้บริการที่โรงพยาบาล ลดการรอคอยในการไปพบแพทย์ ลดค่าใช้จ่ายของประชาชนและครอบครัวในการเดินทาง ในระยะยาว ประชาชนสามารถที่จะจัดการสุขภาพของตนเองได้ ให้ลดการป่วย ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง และลดอัตราเสียชีวิตจากภาวะโรคได้



การดูแลร่วมกันของทีมหมอครอบครัวสำหรับผู้ป่วยติดเตียง  เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยที่ติดเตียงจากโรคเรื้อรัง และสามารถเสริมกำลังใจให้ผู้ดูแลมีความมั่นใจในการดูแลได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ประชาชน อสม. สามารถติดตามความคืบหน้าและการพัฒนาของคลินิกหมอครอบครัวได้ทางLine@primarycarecluster (คลินิกหมอครอบครัว) และ Facebook fanpage PR4PCC (คลินิกหมอครอบครัว) โดยจัดทีม Admin ตอบคำถาม และสื่อสารข้อมูลความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพป้องกันควบคุมโรค เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ สามารถดูแลจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัวได้อย่างถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น