วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ตามนางเอกไปKM

15-16 กันยายน 53 มีโอกาสตามพี่ปุ้ยไปร่วมประชุมการสรุปบทเรียนโครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ที่เชียงราย ตอนแรก ผอ.ให้หัวหน้าฝ่ายแผนงานไป แต่เผอิญท่านไม่ว่าง ข้าเจ้าเลยมีโอกาสไปร่วมแจมกะเขาด้วย โชคดีมากก...เพราะได้พักโรงแรมหกดาวละมั้ง..แบบหรูเริ่ดสะแมนแตน นัยว่าคืนละ 5,000 บาท(แต่ปัจจุบันลดราคาแล้วเหลือ 1,800) ซึ่งถ้าไม่ได้มาประชุมอย่างนี้ไม่มีวาสนาได้มานอนตีพุงแน่ แต่ที่เริ่ดกว่านั้นคือได้ฟังอาจารย์โกมาตรบรรยาย วิเคราะห์ สังเคราะห์รูปแบบการนำเสนอที่พวกเราต่างพากันทำการบ้านอย่างเคร่งเครียด (เว่อร์ไปป่าวเนี่ย)
ก่อนอื่นคุณหมอทิฆัมพร จ่างจิต ผอ.รพ.พานมาเปิดประชุม ท่านพูดได้ดีมาก ว่าที่พวกเราทำกันอยู่ในงานปฐมภูมิจนกระทั่งออกมาเป็นเรื่องเล่านั้นต้องมีทั้งฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หรืออิทธิบาทสี่นั่นเอง งานถึงออกมาได้ คือต้องมีความพอใจที่จะทำ มีความพากเพียรทำไปด้วยใจตั้งมั่น เอาใจใส่ สุดท้ายก็มีการใคร่ครวญถึงสิ่งที่กระทำไปว่าได้ผลดีหรือไม่อย่างไร เหมือนการทำ PDCA ที่ไม่ใช่ Please Don't Change Anything แบบบางคนอยากให้เป็น
หลังจากนั้นอาจารย์หมอโกมาตรก็พูดถึงที่มาที่ไปของโครงการนี้อีกครั้ง เพราะอาจารย์บอกว่า คนที่มามีประเภทผลัดกันมาอยู่ด้วย ไม่เป็นขาประจำ ตามลักษณะนิสัยของสาธารณสุข ประมาณว่าเวียนกันให้ได้ออกจากที่ทำงานเท่าเทียมกัน เคยไปแล้วให้คนอื่นไปมั่ง อย่างนี้ก็มี
อาจารย์มีวิธีการบรรยาย สรุปการบรรยายที่ยอดเยี่ยม ได้ไอเดียที่เป็นประโยชน์ต่อแนวคิดการทำงานของเรามาก ไม่ง่วงเลย อาจารย์จะให้พวกเราพูดกันทุกคน อ่านแล้ววิเคราะห์สังเคราะห์ความรู้ที่ได้ออกมาตามความคิดของเรา ไม่มีถูกผิด แต่สามารถดึงเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ได้อย่างละเมียดละไม (ประมาณว่าเนียน...) แล้วก็ให้ฟังผู้อื่นพูด สรุปว่าได้ฟัง พูด อ่าน สุดท้ายก็เขียนส่งสองหน้ากระดาษ แน่นอนว่าทุกกระบวนการต้องคิดอยู่แล้ว เลยมีทั้ง สุ จิ ปุ ลิ
อาจารย์พูดถึง "กรณีศึกษา" ที่ให้ทุกคนเขียนเรื่องของตัวเองมา CUP ละ 3 เรื่อง พี่ปุ้ยเตรียมไป 2 เรื่อง PCUสารภีเตรียมไป 1 เรื่อง

ทำไมต้อง "กรณีศึกษา"
เพราะบริการปฐมภูมิเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ มีความสลับซับซ้อนไม่มีสูตรตายตัว ไม่สามารถลอกเลียนกันได้ต้องมาปรับใช้ตามบริบทของตนเอง แค่เป็นเครื่องมือที่จุดประกายความคิดแล้ว generate สิ่งใหม่ๆขึ้นในตัวเอง เป็นการสร้างฐานความรู้ไว้ให้ศึกษา สร้างผู้รู้ในระบบ primary care เรื่องต่างๆที่ทำด้วยตนเอง ตกผลึกด้วยตนเองและสามารถสอนผู้อื่นได้ เป้าหมาย case study ต้องมีอย่างน้อย 500 case

การจัดการความรู้กับ "กรณีศึกษา"
ใช้ปลาทูโมเดล ที่หัวปลาเป็น KV: Knowledge Vision คือต้องเสนอเรื่องอะไรที่ทำได้ดีหนึ่งเมนู จากนั้นท้องปลา KS: Knowledge Sharingคือเอาเมนูเด็ดมาโชว์หนึ่งจานประกอบด้วยอะไรบ้าง เครื่องปรุงที่ใส่ใช้อะไร อย่างไร แล้วถึงจะเป็นหางปลา KA: Knowledge Asset ที่กินแล้วอร่อย คนอยากจะเอาไปทำตาม อาจารย์บอกว่า KA = case study ที่ไม่หนา อ่านแล้วฉลาดขึ้น

อาจารย์ให้ลองเล่าให้คนในกลุ่มฟัง อาจารย์ก็แวะเวียนไปฟังแล้วคอมเม้นท์ โชคดีที่มานั่งฟังของPCU ด้วย เพราะอาจารย์คอมเม้นท์จนเราต้อง ...เออ จริงแฮะ... เรื่องของPCU มันมีเรื่องที่ซ่อนในเรื่องเล่าตั้งสี่เรื่อง ทำไมไม่ focus มาซักหนึ่งเรื่อง หรือเขียนมาสี่เรื่องไปเลย จับจุดเด่นของเรื่องให้ได้โดยมีเทคนิคดังนี้ แฮ่ม...

1. เล่าแบบ before&after ก่อนทำเป็นอย่างไรหลังทำมีอะไรที่แตกต่าง ข้อดีหรือผลดีที่ได้รับเกิดประโยชน์อะไรบ้าง
2.วิธีที่จะนำมาซึ่งเกิดผลนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร หรือเกิดจากกิจกรรมที่เฉพาะเจาะจงอะไร
3.มีหลักฐานอะไรยืนยันว่าได้ผล
เน้นการถอดบทเรียนเชิงระบบ โดยดูว่ามีขั้นตอนของการทำ case study นั้นอย่างไร มีหลักการ หลักเกณฑ์ หรือระเบียบวิธีอะไร มีการประสานงานที่เชื่อมโยงกันหรือไม่ มีการติดตามว่าเป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่อย่างไร สุดท้ายต้องสรุปให้ได้ว่า บทเรียนเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ......

ที่อาจารย์เน้นคือ ข้อมูลไม่อยู่ที่ตัวเราที่เดียว ดังนั้นใครเกี่ยวข้องบ้างกับเรื่องที่เราทำ ต้องไป KM โดยคุยกับทีมให้มากขึ้นว่า ทำไมคิดเรื่องนี้ขึ้นมา มีปัญหาอะไร วิธีการแก้ไขปัญหามีความแปลกใหม่ น่าสนใจ creative หรือเปล่า เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว "ถกไปสู่การพัฒนาระบบ" โดยดึงมิติเชิงระบบในกรณีศึกษาออกมาให้เห็น

ตัวช่วยการจัดการความรู้คือ แผนที่ความรู้ในองค์กร
- Mapping ผลงานเด่น ไม่ว่าจะเป็นโครงการ นวตกรรม ผลงานที่ได้รับรางวัล งานวิจัย เรื่องเล่า
- Mapping คนทำงาน ได้แก่ เจ้าของผลงานเด่น คนต้นแบบ คนมีทักษะเฉพาะ หรือเป็นวิทยากร
- Mapping ความรู้ โมเดลต่าง ๆ Best practices เครื่องมือการทำงาน ความรู้ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาสุขภาพท้องถิ่น เอกสาร หนังสือและสื่อต่าง ๆ

การบ้าน
นำแบบฟอร์มแผนที่ความรู้ไปทำต่อ
เลือกสามกรณีศึกษา
กำหนดคนเขียนหรือทีม
ชี้แจงกับผู้เขียนเคส
กรณีศึกษาความยาว 3-5 หน้า

ส่งก่อน 16 ตุลาคมเจ๊าาาา.....

ซ่อยหน่อยแหน้....




3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ17 กันยายน 2553 เวลา 15:12

    เป็นกำลังใจให้ เพราะตัวเองก็ต้องเขียนเหมือนกัน ในนามของ CUP สารภี พี่ปุ้ยเขียน 2เรื่อง ติ๊กส่ง 1 เรื่อง อันนี้ไม่ใช่ กังลังจะ หรือจะเขียนนะคะ แต่เราทั้งสองได้ส่งโครงร่างไปให้ท่านผู้เชี่ยวชาญแล้ว เมื่อไหร่ที่ถูกcomment หรือถูกกรองจากอาจารย์ เพื่อนๆคงได้อ่านกันนะคะสำหรับ case study(ไม่ใช่ เรื่องเล่า หรือ case method) เน้น(ขีดเส้นใต้ตัวหนาๆ)ว่าเป็นเรื่องของ Primary careล้วนๆ case study จะเป็นคลังความรู้เกี่ยวกับPrimary care ซึ่งถ้าสรุปบทเรียนโครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิทั้งประเทศแล้วเสร็จ น่าจะมีcase study ประมาณ 500กว่าเรื่อง เป็นฐานข้อมูลหรือตำรา (อันนี้เป็นเรื่องของ อ.ดร.โกมาตร ต่อ)ได้ศึกษา ปรมาจารย์ของงานปฐมภูมิได้บอกลูกศิษลูกหาคือพวกเราว่า ตำราPrimary careในประเทศไทยมีน้อยมากๆ อันนี้คงต้องติดตามต่อไป สำหรับพี่ปุ้ยเองในฐานะที่เข้าร่วมในโครงการนี้(nodeรพ.พานเป็นเจ้าภาพ)รวมครั้งนีด้วยเป็น 5ครั้ง รู้สึกอย่างไร?? ขอตอบว่า ตัวเองมีการพัฒนางานและพัฒนาความคิดขึ้นมาก ผลที่ตามมาคือ เริ่มขีดเขียนเป็น พูดเป็นและกล้าที่จะนำเสนอ พร้อมที่จะรับฟังเรื่องราวของผู้อื่น.........เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า( อ.โกมาตรสอนเรานะคะ)คนเรามีการพัฒนาและสามารถพัฒนาได้ แต่ต้องใช้เวลาและค่อยๆๆเป็นค่อยๆๆไป
    พี่ปุ้ย วรนารถ รพ.สารภี

    ตอบลบ
  2. พี่ปุ้ยเป็นกูรูตัวจริงค่ะ ใครที่ต้องการเรียนรู้จากพี่ปุ้ยติดต่อมาได้ที่สารภีค่ะ งานของพี่ปุ้ยได้สกัด กลั่นกรองโดยอาจารย์หมอโกมาตรซึ่งการันตีได้โดยรางวัลชนะเลิศมากมาย และเน้นระดับ CUPที่บริหารจัดการจนถึงระดับ Primary care ได้ ส่วน PCU สารภียังเตาะแตะตามบั้นท้ายงามๆของพี่ปุ้ยอยู่ พอได้มาฟังอาจารย์หมอโกมาตรก็พอจะมีไอเดียที่จะเริ่มบรรเจิด แต่จะเข้าตากรรมการหรือเปล่าก็บอกไม่ได้นะคะ อย่างน้อยไปรับฟังของ CUP อื่นๆแล้ว ก็เหมือนออกจากกะลาที่ครอบอยู่ โลกนี้ช่างน่าตื่นตาตื่นใจเสียนี่กระไร....

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ4 ตุลาคม 2553 เวลา 22:49

    ว้าวๆ อยากเรียนมั่งคับ คงได้ประสบการณ์เยอะ

    ตอบลบ